วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฏหมายเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

กฏหมายเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

- มาตรา 139 บัญญัติว่า อสังหาริมทรัพย์หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย


- มาตรา456บัญญัติว่า
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ ท่านว่าเป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือกําปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
 อนึ่งสัญญาจะซื้อหรือจะขายทรัพย์สินอย่างใดๆดังว่ามานี้ก็ดี คํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี ถ้ามิได้มีหลัฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้หรืได้ชําระหนี้บางส่วนแล้ว ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
 บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย


- มาตรา 458 บัญญัติว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทําสัญญาซื้อขายกัน


- มาตรา 459 บัญญัติว่า ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อไข หรือถึงกําหนดเงื่อเวลานั้น


- ดังนั้นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องทําตามแบบที่กฏหมายกําหนดนะครับ ถ้าไม่ทําจะมีผลทําให้สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นโมฆะ โดยที่แบบในที่นี้หมายถึงการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั่นเอง
 ส่วนคําว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นตามหนังสือคําอธิบายประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องซื้อขาย ของ อาจารย์ วิษณุ เครืองาม จะอธิบายได้ดังนี้

1. ที่ดิน มาตรา1 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน บัญญัตว่า ที่ดินหมายความว่าพื้นดินทั่วไป และให้หมายความถึงภูเขา ห้วยหนอง คลอง บึง บาง ลํานํา ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย

2. ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หมายถึงของที่ติดตรึงตราอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรืปรระกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น โดยไม่ว่าการปลูกปักสิ่งนั้นๆลงในดินโดยไม่มีเจตนาจะรื้อถอนไป หรือทรัพย์ที่เกิดขึ้นเองหรือติดกับที่ดินเองตามธรรมชาติ เช่น อาคาร บ้านเรือน เจดีย์ อนุสาวรีย์ ต้นไม้ยืนต้น เป็นต้น

3. ทรัพย์ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน หมายถึงวัตถุต่างๆบรรดาที่จะพึงเห็นได้ว่ามีอยู่ในที่ดิน รวมทั้งเนื้อดินนั้นเอง เช่น แร่ ดีบุก เงิน ทอง ซึ่งเกิดขึ้นหรือมีอยู่เองตามธรรมชาติ ส่วนทรัพย์อื่นที่ตกหล่นหรือมีผู้นํามากองไว้บนที่ดินย่อมไม่ใช่ทรัพย์ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น

4.ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นดวยด้วย หมายถึงสิทธิอันได้แก่

4.1 กรรมสิทธิ์ในที่ดิน

4.2 สิทธิครอบครองในที่ดิน

4.3 ภารจํายอม

4.4สิทธิอาศัย

4.5 สิทธิเหนือพื้นดิน

4.6 ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์

4.7 สิทธิจํานอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น