วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าว

ระเบียบกรมที่ดิน
ว่าด้วยการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าว
และนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๔๗
___________________

โดยที่เห็นเป็นการสมควรรวบรวมและปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ ในห้องชุดของคน
ต่างด้าว และนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก
รวดเร็วและสอดคล้องกับแนวนโยบายการปฏิรูประบบราชการ รวมทั้งเพื่อให้การปฏิบัติงานของ
พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันและดํ าเนินไปตามมาตรา ๑๙ (๑) (๒) (๓) (๔)
มาตรา ๑๙ ตรี (๑) (๒) (๓) (๔) มาตรา ๑๙ เบญจ (๒) (๓) (๔) (๕) มาตรา ๑๙ ฉ มาตรา
๑๙ สัตต มาตรา ๑๙ อัฎฐ มาตรา ๑๙ ทศ มาตรา ๑๙ เอกาทศ มาตรา ๑๙ ทวาทศ มาตรา
๑๙ เตรส และมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๔ และมาตรา ๑๙ (๕) มาตรา ๑๙ ทวิ มาตรา
๑๙ ตรี (๕) มาตรา ๑๙ จัตวา มาตรา ๑๙ เบญจ (๑) และมาตรา ๑๙ นว แห่งพระราชบัญญัติ
อาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๔
และพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติ
อาคารชุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ กรมที่ดินจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
---------ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า .ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของ
คนต่างด้าวและนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๗.
---------ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
---------ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
------------------๓.๑ หนังสือกรมที่ดิน ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๒๕๗๙๖ ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
------------------๓.๒ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ว ๓๔๑๖๗ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๒
------------------๓.๓ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๒๘/ว ๐๙๑๗๗ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๔
------------------๓.๔ หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๒๘/ว ๒๐๓๓๑ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๔
------------------๓.๕ หนังสือกรมที่ดิน ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๒๘/ว ๓๒๐๓๔ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔
------------------๓.๖ หนังสือกรมที่ดิน ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๗๒๘/ว ๓๘๒๔ ลงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
------------------๓.๗ หนังสือกรมที่ดิน ด่วนมาก ที่ มท ๐๗๒๘/ว ๒๖๕๕๐ ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕
------------------๓.๘ หนังสือกรมที่ดิน ด่วนมาก ที่ มท ๐๕๑๕/ว ๑๒๖๐๒ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
บรรดาระเบียบ ข้อกํ าหนด หรือคํ าสั่งอื่นใดที่กํ าหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือ
ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
---------ข้อ ๔ ให้ผู้อํ านวยการสํ านักมาตรฐานการทะเบียนที่ดินเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

----------------------------------------หมวด ๑
------------------------------การแสดงและตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

ข้อ ๕ เมื่อมีผู้แสดงความประสงค์ขอโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้แก่คนต่างด้าวหรือ
นิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดการให้ผู้ขอโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดแจ้ง
รายชื่อคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ พร้อมทั้งอัตราส่วนเนื้อที่ของห้องชุดที่
คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าวถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว และให้คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลผู้ขอรับโอน
กรรมสิทธิ์ในห้องชุดแสดงหลักฐานดังต่อไปนี้
---------๕.๑ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมาย
ว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา ๑๙ (๑) ให้แสดง
------------------๕.๑.๑ หนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างด้าว และ
------------------๕.๑.๒ ใบสํ าคัญถิ่นที่อยู่ (แบบ ตม.๑๑ ตม.๑๕ ตม.๑๖ และ ตม.๑๗
แบบใดแบบหนึ่ง แล้วแต่กรณี ) ซึ่งออกให้โดยสํ านักงานตรวจคนเข้าเมือง สํ านักงานตํ ารวจแห่งชาติ
หรือ
------------------๕.๑.๓ ใบสํ าคัญประจํ าตัวคนต่างด้าวซึ่งออกให้โดยสถานีตํ ารวจท้องที่
ที่คนต่างด้าวมีภูมิลํ าเนาอยู่
อนึ่ง คนต่างด้าวซึ่งมีใบสํ าคัญประจํ าตัวคนต่างด้าวตาม ๕.๑.๓ แล้ว
ไม่ต้องแสดงหลักฐานตาม ๕.๑.๑ และ ๕.๑.๒ อีก
---------๕.๒ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมาย
ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา ๑๙ (๒) ให้แสดง
-------------------๕.๒.๑ หนังสือเดินทางแสดงสัญชาติของคนต่างด้าว และ
-------------------๕.๒.๒ หนังสือสํ านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รับรองว่าเป็น
-------------------คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
-------------------๕.๓ นิติบุคคลตามที่กํ าหนดไว้ในมาตรา ๙๗ และมาตรา ๙๘ แห่งประมวล
กฎหมายที่ดิน ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยตามมาตรา ๑๙ (๓) ให้แสดงหลักฐาน
การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจํ ากัด ห้างหุ้นส่วนจํ ากัด หรือห้างหุ้นส่วน
สามัญที่จดทะเบียนแล้ว ให้แสดงหลักฐานหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
๕.๔ นิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของ
คนต่างด้าu3623 ว พ.ศ.๒๕๔๒ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ตามมาตรา ๑๙ (๔) ให้แสดงหลักฐานหนังสือสํ านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รับรองว่า
เป็นผู้ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
๕.๕ คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนํ าเงินตรา
ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามมาตรา ๑๙ (๕) ให้แสดงหลักฐานการนํ าเงิน
ตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือหลักฐานการถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่น
ที่อยู่นอกประเทศหรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศในจํ านวนไม่น้อยกว่าค่าห้องชุดที่
จะซื้อ แล้วแต่กรณี ดังนี้
๕.๕.๑ กรณีหลักฐานการนํ าเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้แสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด คือ
(๑) หลักฐานแบบสํ าแดงเงินตราต่างประเทศ ซึ่งออกให้โดย
เจ้าหน้าที่ศุลกากร (Foreign Currency Declaration Form The Customs Department)
(๒) การนํ าเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรก่อน
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๔ ให้ใช้หลักฐานการเสนอขายเงินตราต่างประเทศตามแบบ ล.ป.๗๑ ก. หรือ
ล.ป.๗๑ ข. ซึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราธนาคารในช่องของตัวแทนรับอนุญาตของแบบดังกล่าว
(๓) การนํ าเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร ตั้งแต่
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๔ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ให้ใช้หลักฐาน
(๓.๑) จํ านวนเงินเกินกว่า ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้สํ าเนาแบบ ธ.ต.๓ ที่ธนาคารพาณิชย์จัดให้ผู้ขายเงินตราต่าง
ประเทศยื่นประกอบการขอขายเงินตราต่างประเทศ
(๓.๒) จํ านวนเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือ
เทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หนังสือที่ธนาคารรับอนุญาตได้รับรองการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ
หรือนํ าเงินตราต่างประเทศเข้าฝากในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
(๔) การนํ าเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร ตั้งแต่
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๕ ให้ใช้หลักฐาน
(๔.๑) จํ านวนเงินเกินกว่า ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ถ้าคนต่างด้าวผู้โอนได้ให้บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับ
โอนนํ าเงินไปขาย ให้ใช้หลักฐานแบบ ธ.ต.๓ (ก) หรือคนต่างด้าวเป็นผู้นํ าเงินไปขาย ให้ใช้หลักฐาน
แบบ ธ.ต.๓ (ข) โดยในช่องผู้ส่งเงินตามแบบ ธ.ต.๓ (ก) หรือ ธ.ต.๓ (ข) ต้องระบุว่าส่งเงินมาจาก
ต่างประเทศ
(๔.๒) จํ านวนเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานใบรับซื้อเงินตราต่างประเทศซึ่งออกให้โดยบริษัทรับ
อนุญาตหรือบุคคลรับอนุญาตเป็นผู้รับซื้อเงินตราต่างประเทศ โดยมีหลักฐานของบริษัทรับอนุญาต
หรือบุคคลรับอนุญาตที่ออกให้โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแนบประกอบด้วย หรือให้ใช้หนังสือที่
ธนาคารรับอนุญาตได้รับรองการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ หรือนํ าเงินตราต่างประเทศเข้าฝากในบัญชี
เงินฝากเงินตราต่างประเทศ
( ๕) การนํ าเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร ตั้งแต่
วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ให้ใช้หลักฐาน
(๕.๑) จํ านวนเงินเกินกว่า ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ
อเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ถ้าคนต่างด้าวผู้โอนได้ให้บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยซึ่ง
เป็นผู้รับโอนนํ าเงินไปขาย ให้ใช้หลักฐานแบบ ธ.ต.๓ (ก) หรือคนต่างด้าวเป็นผู้นํ าเงินไปขาย ให้ใช้
หลักฐานแบบ ธ.ต.๓ (ข) โดยในช่องผู้ส่งเงินตามแบบ ธ.ต.๓ (ก) หรือ ธ.ต.๓ (ข) ต้องระบุว่าส่งเงิน
มาจากต่างประเทศ
(๕.๒) จํ านวนเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานใบรับซื้อเงินตราต่างประเทศซึ่งออกให้โดยบริษัทรับ
อนุญาต หรือบุคคลรับอนุญาตเป็นผู้รับซื้อเงินตราต่างประเทศ โดยมีหลักฐานของบริษัทรับอนุญาต
หรือบุคคลรับอนุญาตที่ออกให้โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแนบประกอบด้วย หรือให้ใช้หนังสือที่
ธนาคารรับอนุญาตได้รับรองการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ หรือนํ าเงินตราต่างประเทศเข้าฝากในบัญชี
เงินฝากเงินตราต่างประเทศ
(๖) การนํ าเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร ตั้งแต่
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ให้ใช้หลักฐาน
(๖.๑) จํ านวนเงินตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานแบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
(๖.๒) จํ านวนเงินตํ่ ากว่า ๒๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐาu3609 นใบรับซื้อเงินตราต่างประเทศซึ่งออกให้โดยบริษัทรับ
อนุญาต หรือบุคคลรับอนุญาตเป็นผู้รับซื้อเงินตราต่างประเทศ โดยมีหลักฐานของบริษัทรับอนุญาต
หรือบุคคลรับอนุญาตที่ออกให้โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแนบประกอบด้วย หรือให้ใช้หนังสือที่
ธนาคารรับอนุญาตได้รับรองการรับซื้อเงินตราต่างประเทศหรือนํ าเงินตราต่างประเทศเข้าฝากในบัญชี
เงินฝากเงินตราต่างประเทศ
๕.๕.๒ กรณีหลักฐานการถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่
นอกประเทศ ทั้งกรณีที่เป็นบัญชีของคนต่างด้าวหรือไม่ใช่บัญชีของคนต่างด้าว ให้แสดงหลักฐาน
หนังสือรับรองของธนาคารพาณิชย์ซึ่งรับรองการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่เป็นเงินบาทของบุคคลที่
มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
๕.๕.๓ กรณีหลักฐานการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
ให้แสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(๑) การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ตั้งแต่
วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๒ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ให้ใช้หลักฐาน
(๑.๑) จํ านวนเงินเกินกว่า ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้แบบ ธ.ต. ๓ ที่ธนาคารพาณิชย์จัดให้ผู้ขายเงินตราต่างประเทศ
ยื่นประกอบการขอขายเงินตราต่างประเทศ
(๑.๒) จํ านวนเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ลูกค้า หรือหนังสือรับรองของ
ธนาคารในการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ
(๒) การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ตั้งแต่
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๕ ให้ใช้หลักฐาน
(๒.๑) จํ านวนเงินเกินกว่า ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ถ้าคนต่างด้าวได้ให้บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นผู้ถอนและ
นํ าเงินไปขาย ให้ใช้หลักฐานแบบ ธ.ต.๓ (ก) หรือคนต่างด้าวเป็นผู้ถอนและนํ าเงินไปขาย ให้ใช้
หลักฐานแบบ ธ.ต. ๓ (ข)
(๒.๒) จํ านวนเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ลูกค้า หรือหนังสือรับรอง
ของธนาคารในการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ
(๓) การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ตั้งแต่
วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ให้ใช้หลักฐาน
(๓.๑) จํ านวนเงินเกินกว่า ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ถ้าคนต่างด้าวได้ให้บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นผู้ถอนและนํ า
เงินไปขาย ให้ใช้หลักฐานแบบ ธ.ต.๓ (ก) หรือคนต่างด้าวเป็นผู้ถอนและนํ าเงินไปขาย ให้ใช้หลัก
ฐานแบบ ธ.ต. ๓ (ข)
(๓.๒) จํ านวนเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ลูกค้าหรือหนังสือรับรองของ
ธนาคารในการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ
(๔) การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ตั้งแต่
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ให้ใช้หลักฐาน
(๔.๑) จํ านวนเงินตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานแบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่ธนาคาร
พาณิชย์จัดให้ผู้ขายเงินตราต่างประเทศยื่นประกอบการขอขายเงินตราต่างประเทศ
(๔.๒) จํ านวนเงินตํ่ ากว่า ๒๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้ใช้หลักฐานที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ลูกค้าหรือหนังสือรับรองของ
ธนาคารในการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ
กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนํ าเงินตรา
ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามมาตรา ๑๙ (๕) ชํ าระค่าห้องชุดโดยการโอนเงิน
ทางโทรเลข หรือส่งเงินผ่านเข้ามาในบัญชีเงินฝากของเจ้าของโครงการอาคารชุด หรือส่งเงินเข้ามา
เป็นตั๋วแลกเงิน (Bank Draft) ซึ่งระบุชื่อเจ้าของโครงการอาคารชุดเป็นผู้รับเงิน โดยผู้ซื้อที่เป็นคนต่าง
ด้าวนั้นไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยหรือมิได้เปิดบัญชีเงินฝากไว้ในประเทศไทย เมื่อเจ้าของ
โครงการอาคารชุดได้ขายเงินตราต่างประเทศให้กับธนาคารรับอนุญาตแล้ว ธนาคารรับอนุญาตจะระบุ
ชื่อเจ้าของโครงการอาคารชุดเป็นผู้ขายเงินในแบบ ธ.ต.๓ หรือในหนังสือรับรองของธนาคารรับ
อนุญาต หากมีข้อความระบุไว้ชัดเจนในแบบ ธ.ต.๓ หรือหนังสือรับรองของธนาคารว่าเงินตราต่าง
ประเทศที่ขายให้แก่ธนาคารรับอนุญาต เป็นเงินที่คนต่างด้าวผู้ซื้อห้องชุดรายใดส่งเข้ามาให้เจ้าของ
โครงการอาคารชุดเพื่อชํ าระค่าห้องชุดใดในโครงกาu3619 รอาคารชุดนั้น แบบ ธ.ต.๓ หรือหนังสือรับรอง
ของธนาคารรับอนุญาตที่ระบุข้อความดังกล่าว ให้ใช้เป็นหลักฐานได้
กรณีตัวแทนในต่างประเทศของเจ้าของโครงการอาคารชุด รับเงินค่าห้องชุดจาก
ลูกค้าที่ซื้อห้องชุดซึ่งเป็นคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนํ าเงินตรา
ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามมาตรา ๑๙ (๕) หลายราย แล้วส่งเงินตรา
ต่างประเทศเข้ามาให้เจ้าของโครงการอาคารชุดรวมกันในคราวเดียวกัน เมื่อเจ้าของโครงการ
อาคารชุดได้นํ าเงินตราต่างประเทศไปขายให้กับธนาคารรับอนุญาตแล้ว ธนาคารรับอนุญาตได้ระบุใน
แบบ ธ.ต.๓ หรือแบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศว่าเป็นเงินที่คนต่างด้าวรายใดบ้างส่งเข้ามา
เพื่อชํ าระค่าห้องชุด แต่มิได้ระบุวงเงินแยกเป็นของคนต่างด้าวแต่ละคน ประกอบกับบางรายส่งเงินเข้า
มาเกินราคาห้องชุดที่ซื้อ เนื่องจากรวมค่าตกแต่งภายในค่าเฟอร์นิเจอร์ไว้ด้วย ให้ใช้แบบ ธ.ต. ๓ หรือ
แบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศนั้น ประกอบกับการบันทึกถ้อยคํ า (ท.ด.๑๖) ของเจ้าของ
โครงการว่าเงินตราต่างประเทศที่ขายให้ธนาคารรับอนุญาตนั้น เป็นของคนต่างด้าวรายใด เพื่อชํ าระ
ค่าห้องชุดใด เป็นเงินเท่าใด เงินส่วนที่เกินจากราคาห้องชุดเป็นของรายใด จํ านวนเท่าใด เป็นเงินค่า
อะไร ให้ใช้เป็นหลักฐานได้
อนึ่ง หลักฐานตาม ๕.๕.๑ หรือ ๕.๕.๒ หรือ ๕.๕.๓ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือ
หลายอย่างรวมกัน ต้องมีจํ านวนเงินไม่น้อยกว่าค่าห้องชุดที่จะซื้อ
ข้อ ๖ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารและหลักฐานตามมาตรา ๑๙ ตรี ที่กํ าหนดไว้
ใน ๕.๑ - ๕.๕ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานดังกล่าวแล้วเห็นว่าเป็นเอกสารและหลักฐานที่ถูกต้อง
ตามบทบัญญัติมาตรา ๑๙ ตรี และอัตราส่วนการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวหรือนิติ
บุคคลตามมาตรา ๑๙ ทั้งผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้วและผู้ที่ขอรับโอนไม่เกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของ
เนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา ๖ ที่ระบุไว้ใน
มาตรา ๑๙ ทวิ วรรคหนึ่ง หรืออยู่ในหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของคนต่างด้าวและ
นิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กํ าหนดใน
กฎกระทรวงฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒
ตามมาตรา ๑๙ ทวิ วรรคสองและวรรคสาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดํ าเนินการจดทะเบียนสิทธิและ
นิติกรรมเกี่ยวกับห้องชุดตามหมวด ๔ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒ และถือปฏิบัติ
ตามหมวด ๔ ของระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยอาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๓ ให้แก่คนต่างด้าวหรือนิติบุคคล
ผู้รับโอนนั้น
นับแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๗ ให้คนต่างด้าวและนิติบุคคลที่ได้ห้องชุดมาตาม
มาตรา ๑๙ ทวิ วรรคสอง หรือคนต่างด้าวและนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ซึ่งรับโอน
กรรมสิทธิ์ห้องชุดต่อเนื่องจากคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลดังกล่าว ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นต่อไปได้ แม้
ว่าจะเกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียน
อาคารชุดตามมาตรา ๖ ที่ระบุไว้ในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๒
กรณีที่คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนํ าเงินตราต่าง
ประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามมาตรา ๑๙ (๕) ขอซื้อและจํ านองห้องชุดในวัน
เดียวกัน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบหลักฐานตาม ๕.๕ และอัตราส่วนการถือกรรมสิทธิ์ใน
ห้องชุดตามวรรคหนึ่งถูกต้องแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อ
และจํ านองห้องชุดดังกล่าวภายในวันเดียวกันได้
เมื่อคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วย
การส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา ๑๙ (๒) และนิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการ
ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๒ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการ
ส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา ๑๙ (๔) ขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จด
ทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งไปยังสํ านัก
งานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนทราบ
เมื่อคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนํ าเงินตราu3605 ต่าง
ประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามมาตรา ๑๙ (๕) นํ าสํ าเนาแบบ ธ.ต.๓ หรือ
สํ าเนาแบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมิได้ระบุว่าเป็นการซื้อห้องชุดใด ของอาคารชุดใด
ไว้ในแบบดังกล่าวมายื่นคํ าขอซื้อห้องชุด และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอน
กรรมสิทธิ์ในห้องชุดให้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งไปยังธนาคารรับอนุญาตที่ออกสํ าเนาแบบ
ธ.ต.๓ หรือสํ าเนาแบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศให้แก่คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมาย
ถือว่าเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา ๑๙ (๕) นั้น โดยขอความร่วมมือให้ธนาคารหมายเหตุไว้ในต้นฉบับ
แบบ ธ.ต. ๓ หรือแบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฉบับของธนาคาร ว่า
.แบบ ธ.ต.๓ /แบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศฉบับนี้ นาย / นาง / นางสาว หรือ
ชื่อนิติบุคคล........ได้ใช้เป็นหลักฐานในการจดทะเบียนซื้อห้องชุดเลขที่......
ของอาคารชุด......แล้วแต่วันที่ .. เดือน ..... พ.ศ. .. . แล้วแต่กรณีทั้งนี้
เพื่อป้องกันมิให้คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวนั้นไปขอสํ าเนา
แบบ ธ.ต.๓ หรือสํ าเนาแบบการทํ าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศดังกล่าว แล้วนํ าไปแสดงเพื่อ
ขอซื้อห้องชุดอื่นอีก
หมวด ๒
การจํ าหน่ายห้องชุด
___________________
ข้อ ๗ เมื่อคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ต้องจํ าหน่ายห้องชุด ได้แจ้ง
เป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในกํ าหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องจํ าหน่ายห้องชุด
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๑๙ เบญจ หรือไม่
ในแต่ละกรณี ดังนี้
๗.๑ คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา ๑๙ ได้มาซึ่งห้องชุดโดยได้รับมรดกใน
ฐานะเป็นทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม หรือโดยประการอื่น แล้วแต่กรณี เมื่อรวมกับห้องชุด
ที่มีคนต่างด้าวและหรือนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้วในอาคารชุดนั้น
เกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคาร
ชุด ตามมาตรา ๖ ที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ทวิ วรรคหนึ่ง หรือไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
ในห้องu3594 ชุดของคนต่างด้าวและนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กํ าหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
อาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒ ตามมาตรา ๑๙ ทวิ วรรคสองและวรรคสาม คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลนั้น
ต้องจํ าหน่ายเฉพาะห้องชุดที่เกินอัตราที่กํ าหนดภายในกํ าหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่ง
กรรมสิทธิ์ในห้องชุด
๗.๒ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมาย
ว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา ๑๙ (๑) ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือ
ใบสํ าคัญถิ่นที่อยู่ของคนต่างด้าวใช้ไม่ได้ คนต่างด้าวนั้นต้องจํ าหน่ายห้องชุดที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ทั้งหมด
ภายในกํ าหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
หรือใบสํ าคัญถิ่นที่อยู่ใช้ไม่ได้
๗.๓ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่า
ด้วยคนเข้าเมือง และคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการ
ส่งเสริมการลงทุน และคนต่างด้าวซึ่งนํ าเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถอนเงินจาก
บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศหรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
ตามมาตรา ๑๙ (๑) (๒) และ (๕) ถูกสั่งเนรเทศออกไปนอกราชอาณาจักร และไม่ได้รับการผ่อนผัน
หรือถูกส่งไปประกอบอาชีพ ณ ที่ใดแทนการเนรเทศ คนต่างด้าวนั้นต้องจํ าหน่ายห้องชุดที่มีกรรมสิทธิ์
อยู่ทั้งหมดภายในกํ าหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเนรเทศ
๗.๔ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วย
การส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา ๑๙ (๒) ไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้อยู่
ในราชอาณาจักร คนต่างด้าวนั้นต้องจํ าหน่ายห้องชุดที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ทั้งหมดภายในกํ าหนดเวลาไม่
เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
๗.๕ นิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคน
ต่างด้าว พ.ศ.๒๕๔๒ และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ตาม
มาตรา ๑๙ (๔) ถู_________กเพิกถอนบัตรส่งเสริมการลงทุน นิติบุคคลนั้นต้องจํ าหน่ายห้องชุดที่มีกรรมสิทธิ์อยู่
ทั้งหมดภายในกํ าหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริมการลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น