วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน

ดินที่มีปัญหา
ดินมีปัญหา หมายถึง ดินตามธรรมชาติที่มีความผิดปกติแตกต่างไปจากดินทั่วไป โดยจะมีคุณสมบัติบางประการที่ไม่เหมาะสม ถึงขั้นเป็นอุปสรรค์ต่อการเจริญเติบโตตามปกติของพืช เช่น ดินมีความเป็นกรดรุนแรง ดินมีความเค็มมากเกินไป หรือดินเป็นดินทรายจัด เป็นต้น
การเกิดดินเค็ม
นอกจากดินมีปัญหาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้ว ดินมีปัญหาบางชนิดยังเกิดเพิ่มขึ้นใหม่ได้ จากการใช้ที่ดินอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ปัญหาดินเค็มในภาคตะวันออกเฉพียงเหนือที่เกิดจากการดูดเอาเกลือใต้ดินมาผลิตเป็นเกลือสินเธาว์ แล้วระบายน้ำเค็มออกสู่พื้นที่ใกล้เคียง หรือการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่น้ำจืด โดยนำน้ำทะเลมาผสมกับน้ำจืดในบ่อที่ขุดขึ้นในพื้นที่นา ทำให้เกิดปัญหาดินเค็มและต่อระบบนิเวศน้ำจืดตามมา
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด
กุ้งกุลาดำเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ที่อาศัยอยู่ในทะเลและเขตน้ำกร่อย ปัจจุบันได้มีการ นำมาเลี้ยงในเขตพื้นที่น้ำจืด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยใช้เช่าพื้นที่ นาข้าวหรือพื้นที่รกร้างมาขุดเป็นบ่อ แล้วขนน้ำเค็มจากทะเลมาผสมกับน้ำจืดในบ่อ และจะต้องรักษา ระดับความเค็มที่เหมาะสม ซึ่งบางครั้งต้องเติมน้ำทะเลหรือเกลือลงไป เมื่อใดมีการระบายน้ำเค็ม จากบ่อเลี้ยงออกสู่พื้นที่ภายนอก ก็จะเกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ทำให้ สภาพแวดล้อมธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป
จากการสำรวจพบว่า มีวิธีการจัดการการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็น 2 แบบ คือ การจัดการ ที่ดิน และการจัดการที่ไม่ดี
การจัดการที่ดีี คือ มีการออกแบบพื้นที่เลี้ยงให้มีบ่อพักน้ำ มีคูรับน้ำรอบบ่อขณะจับกุ้งจะไม่มีการระบายน้ำทิ้ง ออกนอกพื้นที่ที่เลี้ยง
การจัดการที่ไม่ดีี คือ ไม่มีหรือมีบ่อพักน้ำ ไม่มีหรือมีคูน้ำรอบบ่อเลี้ยง ขณะจับจะมีการระบายน้ำทิ้งออก นอกพื้นที่เลี้ยง หรือมีน้ำจากบ่อเลี้ยงไหลล้นลงพื้นที่ใกล้เคียง
เกลือในบ่อเลี้ยงกุ้ง
กรมพัฒนาที่ดิน ได้ศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จากเกษตรกรรมที่ใช้น้ำจืดมาเป็นน้ำกร่อยเช่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด จะเกิดการแพร่กระจายของดินเค็ม น้ำเค็ม โดยคำนวณว่าถ้าใช้น้ำเค็ม 7 ppt. โดยเลี้ยงปีละ 2 ครั้ง เมื่อถึงระยะจับกุ้ง
น้ำเค็มจะเหลือ 3 ppt. เกลือหายไป 4 ppt. คิดเป็นปริมาณเกลือ 16,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี เกลือที่หายไปนี้จะไหลซึมไปผสมกับแหล่งน้ำจืดข้างเคียง หรือซึมไปได้ไกลถึง 600-800 เมตร
ผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และอาจเห็นผลชัดเจนได้ประมาณ 4-5 ป
ผลกระทบต่อคุณภาพดิน
เกลือโซเดียมคลอไรด์ สามารถแพร่กระจายในดินได้แนวดิ่งและแนวนอน ไม่ว่าจะเป็นดินประเภทใด ถ้าเป็นดินทราย เกลือจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว แต่จะมีการสะสมน้อย ส่วนดินเหนียวจะแพร่กระจายได้ช้ากว่า แต่อนุภาพของดินเหนียวจะดูดยึดเกลือไว้มากกว่าดินทราย หากพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดิน ไม่ต่ำกว่าผิวดินมากนัก เลือกก็จะแพร่กระจายไปตามน้ำใต้ดินนั้น
ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ
โมเลกุลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ นั้น ละลายน้ำได้ดี ดังนั้นที่ปล่อยจากบ่อกุ้งไม่ว่าช่วงใดของการเลี้ยง ก็จะแพร่กระจายไปกับกระแสน้ำ ทำลายระบบนิเวศน้ำจืดที่น้ำนั้นไหลผ่าน หากมีการสูบน้ำนั้นไปเพาะปลูก เกลือก็จะเข้าไปสะสมในดินและส่งผลเสียต่อทรัพยากรดิน น้ำ และการเจริญเติบโตของพืช
นอกจากนั้น น้ำทิ้งที่ระบายออกมา ยังมีค่าความสกปรกสูงในรูป BOD และสารอาหารในรูปของปริมาณฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ซึ่งจะทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำเสื่อมโทรมได้ โดยเฉพาะเมื่อแหล่งน้ำนั้นอยู่ใกล้กับพื้นที่เลี้ยงหรือเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก
ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
บ่อเลี้ยงกุ้ง ที่มีการจัดการที่ไม่ดี มีการระบายน้ำทิ้งลงพื้นที่ข้างเคียง โดยเฉพาะนาข้าวจะมีผลกระทบเช่น ข้างมีการแตกกอน้อยกว่าปกติ เมล็ดลีบ การเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควรหรือไม่สม่ำเสมอ ส่วนพื้นที่อื่นๆ เช่น สวนส้มแม้ยังไม่เห็นผลชัดเจนแต่อาจกล่าวได้ว่ามีความ เสี่ยงสูง หากมีการเลี้ยงกุ้งโดยรอบพื้นที่
ทางเลือกที่ดีกว่า 
หากให้มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในพื้นที่น้ำจืดต่อไป จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการลดพื้นที่เพาะปลูกอย่างอื่นอย่างรวดเร็ว เกิดการสูญเสียทรัพยากรดิน ที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรอื่น ลดความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะผลผลิตข้าว นอกจากนี้การเข้าไปเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสำคัญดังกล่าว อาจถูกนำมาเป็นข้ออ้างจากต่างระเทศ เพื่อการกีดกันทางการค้าในการส่งออกของประเทศได้
การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 
ผลกระทบของปัญหาขณะนี้ ได้เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างกินพื้นที่หลายจังหวัด และแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว เป็นการย้ายพื้นที่เพาะเลี้ยงจากเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลหรือพื้นที่ น้ำกร่อยที่เสื่อมโทรมและเกิดการระบาดของโรคแล้วเข้าไปสู่พื้นที่น้ำจืด ลักษณะเช่นเดียวกับการทำไร่เลื่อนลอย รัฐบาลจึงได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่น้ำจืด โดยยกเว้นพื้นที่จังหวัดชายทะเลหรือพื้นที่จังหวัดที่มีน้ำทะเลถึงตามธรรมชาติ รวม 25 จังหวัด โดยมีมาตราการควบคุมอีกหลายอย่าง ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น